วันจันทร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2557

กิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาภาษาอังกฤษ

เป้าหมาย : เพื่อให้นักเรียนทักษะการสื่อสาร เข้าใจถึงความแตกต่างวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา สามารถฟังคำศัพท์ ประโยค เรื่องราว บทสนทนาจากนิทาน เพลง ละคร ภาพยนตร์ จับใจความสำคัญ ตอบคำถามโดยให้เหตุผลรวมทั้งสามารถถ่ายทอดสื่อความหมายให้ผู้อื่นเข้าใจ ผ่านการเขียน การวาดภาพ การแต่งนิทาน การนำเสนอในรูปแบบต่างๆ เช่น หนังสั้น โฆษณา ละครเพลง ฯลฯ อีกทั้งสามารถใช้ภาษาเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้สู่สังคมโลกได้อย่างสร้างสรรค์

กระบวนการเรียนรู้
การจัดการเรียนรู้โดยใช้วรรณกรรม  เพื่อให้นักเรียนเรียนรู้การใช้ภาษาจริงจากการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลแวดล้อมและ การเรียนรู้ผ่านวรรณกรรม เป็นการจำลองชีวิตจริง มีความงดงามทั้งวิถีชีวิตและการใช้ทักษะทางภาษา อีกทั้งจรรโลงใจให้ใคร่ครวญ
รูปแบบกิจกรรม อย่างเช่น
   -ทบทวนความรู้เกี่ยวกับ Present Simple Tense และทบทวนเนื้อหาในบทที่ 1-2
ในวรรณกรรม A Christmas Carol เช่น Can you tell me the characters in this story?
 What is Scrooge like?
What is his friend’s name?
 - นักเรียนอ่านวรรณกรรม A Christmas Carol Chapter : 3 The First Spirit  และตอบคำถามเกี่ยวกับเนื้อหา จากนั้นให้นักเรียนคัดลองคำกริยา (Past Simple Tense) ลงสมุด พร้อมสังเกตโครงสร้างประโยค
   - นักเรียนทุกคน สร้างชิ้นงานเพื่อสรุปความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องที่ศึกษาในรูปแบบต่างๆ
Mind Mapping การ์ตูนช่อง การแสดงละคร ร้องเพลง แต่งนิทานฯลฯ




ผลที่ได้รับ
      การเรียนภาษาอังกฤษ เหตุที่เลือกวรรณกรรมภาษาอังกฤษในการเรียนรู้ เพราะว่า การที่จะเรียนรู้ภาษา วัฒนธรรม วิถีการดำเนินชีวิตและประเพณีเทศกาลวันสำคัญของเจ้าของภาษานั้น จะต้องเรียนรู้จากบริบทหรือสภาพแวดล้อมของภาษาจริงๆ วรรณกรรมก็เป็นส่วนหนึ่งของบริบทภาษาที่นักเรียนสามารถเรียนรู้และเข้าถึงได้ง่าย เนื่องด้วยวรรณกรรมมีเนื้อหาสาระสนุกสนาน สนใจและน่าติดตามพร้อมทั้งผู้อ่านหรือนักเรียนสามารถเลือกเรื่องที่ต้องการศึกษาหรือเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ทั้งนี้ผู้สอนได้เลือกวรรณกรรมภาษาอังกฤษเรื่อง A Christmas Carol ผู้แต่งคือ CHARLES DICKENS นักเรียนสนุกสนาน ให้ความสนใจ กระตือรือร้นในการเรียนวรรณกรรม นักเรียนได้เรียนรู้วัฒนธรรมทางภาษา การรับประทาน วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของเจ้าของภาษาและนำมาเชื่อมโยงกับสังคมของเจ้าของภาษาในปัจจุบัน นักเรียนสามารถอธิบายได้ถึงความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรม (Cross-Culture Communication)ของประเทศไทย ชนชาติวันตกและอื่นๆ ในด้านภาษาและอวัจนภาษา (Verbal and Non-Verbal Languages) และการดำรงชีวิต ทัศนคติ ค่านิยม เช่น เพราะสาเหตุใด ทำไมชาวตะวันตกถึงรับประทานอาหารที่มีจำพวกแป้ง ไขมัน การดำเนินชีวิตในสังคมตะวันตกเป็นแบบใด เพราะเหตุใด และมีความแตกต่างจากสังคมในเมืองไทยอย่างไร เป็นต้น รวมถึงการศึกษาค้นคว้า เรียนรู้เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของเทศกาลวันสำคัญของชาวตะวันตก เช่น วันคริสต์มาส วันขอบคุณพระเจ้า วันวาเลนไทน์ ซึ่งเทศกาลดังกล่าวนักเรียนทุกคนต่างรู้จักมักคุ้นเป็นอย่างดี ซึ่งนักเรียนเรียนรู้ผ่านกระบวนการ Key Questions , Brainstorms , Flipped Classroom เป็นต้น
        นอกจากนั้นการเรียนรู้ภาษาอังกฤษจากวรรณกรรม นอกจากจะได้ความรู้เกี่ยวกับเจ้าของภาษาแล้ว ยังสามารถเรียนรู้ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษจากวรรณกรรมด้วย เช่น เรื่อง Coordinating Conjunctions , Past Simple (Regular/Irregular Verbs) , Adjectives, Adverbs เป็นต้น ให้นักเรียนสังเกตประโยคตัวอย่างที่นำมาจากวรรณกรรมและสรุปหลักเกณฑ์การใช้ ด้วยภาษาของตนเอง (Induction Method) นักเรียนส่วนใหญ่ชอบการเรียนรู้แบบท้าทาย ชอบวิเคราะห์ เช่น นักเรียนชอบการเรียงลำดับคำในประโยค (Order) และฝึกให้ผู้เรียนเข้าใจและสามารถวิเคราะห์ อธิบาย หน้าที่ของคำได้ (Parts of Speech) นอกจากเนื้อหาด้านไวยากรณ์แล้ว ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการอ่าน เช่น การอ่านออกเสียงพยัญชนะต้นและพยัญชนะท้ายคำ ออกเสียงเชื่อมโยงในประโยค (Linking Sounds) และนำความรู้ประยุกต์ใช้ในการร้องเพลงสากล นักเรียนส่วนใหญ่ตระหนักและให้ความสำคัญในการอ่านออกเสียงและการฟังอย่างตั้งใจ จากกระบวนการเรียนการสอนนักเรียนซึ่งแน่นอนว่านักเรียนแต่ละคนมีความแตกต่าง


.............ทีมครูมัธยม นอกกะลา.........




กิจกรรมการเรียนรู้วิชาทักษะอนาคต (การงานและเทคโนโลยี)

เป้าหมายการเรียนรู้ : เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับนักเรียนทุกคน สำหรับกระบวนการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และพัฒนาทักษะการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (ICT) ที่หลากหลายและเกิดประโยชน์สูงสุดพร้อมทั้งนำทักษะการเรียนรู้ที่ได้มาปรับประยุกต์ใช้ ในการสร้างสิ่งใหม่ตามมุมมอง ความคิดสร้างสรรค์ และจินตนาการของนักเรียนแต่ละคนให้มีพัฒนาการที่ดีต่อไป

         สำหรับนักเรียนในระดับชั้น ม.1- ม.3 ทุกคนจะเริ่มเรียนรู้ตั้งแต่ ชิ้นส่วนต่างของคอมพิวเตอร์ หน้าที่การทำงาน รวมไปถึงการประกอบชิ้นส่วนต่างๆจนกระทั้งสามารถใช้งานได้ หลังจากนั้นจะเป็นกระบวนการเรียนรู้ โปรแกรมการทำงานด้านต่างๆของคอมพิวเตอร์ อาทิเช่น โปรแกรมการตัดต่อ เพื่อผลิตหนังสั้น สารคดี รวมถึงการตัดต่อเพื่อนำเสนองานต่างๆในวิชาที่เรียน โดยนักเรียนทุกคนจะได้เรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติจริง ซึ่งกระบวนการเรียนรู้โดยส่วนใหญ่ เกิดขึ้นจากการค้นคว้าของนักเรียนเอง โดยมีคุณครูร่วมแนะนำและทำหน้าที่ในการอำนวยการเรียนรู้เท่านั้น
ตัวอย่างชิ้นงานจากการเรียนรู้ในวิชาทักษะอนาคต




       การผลิตสื่อการสอน หรือการถ่ายทอดสิ่งที่นักเรียนได้เรียนรู้ ซึ่งเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้องในขั้นตอนการดำเนินงาน เป็นการถ่ายทอดความเข้าใจรูปแบบหนึ่ง ที่ช่วยให้ครูสามารถมองเห็นพัฒนาการที่เกิดจากทักษะด้านต่างๆที่เกิดขึ้นกับนักเรียนทุกๆคน เนื่องจากชิ้นงานที่เกิดขึ้น ล้วนแล้วได้ผ่านกระบวนการคิด ความเข้าใจ การแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นซึ่งเกิดจากการลงมือปฏิบัติจริงมาแล้ว การผลิตสื่อการสอน หรือการถ่ายทอดสิ่งที่นักเรียนได้เรียนรู้ ซึ่งเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้องในขั้นตอนการดำเนินงาน เป็นการถ่ายทอดความเข้าใจรูปแบบหนึ่ง ที่ช่วยให้ครูสามารถมองเห็นพัฒนาการที่เกิดจากทักษะด้านต่างๆที่เกิดขึ้นกับนักเรียนทุกๆคน เนื่องจากชิ้นงานที่เกิดขึ้น ล้วนแล้วได้ผ่านกระบวนการคิด ความเข้าใจ การแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นซึ่งเกิดจากการลงมือปฏิบัติจริงมาแล้ว

 
.............ทีมครูมัธยม .............
 
  




กิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์

   เป็นวิชาที่ว่าด้วยการเรียนรู้ที่เน้น การวิเคราะห์ การตั้งคำถาม และกระบวนการคิดที่จะได้มาซึ่งคำตอบ
เป้าหมายการเรียนรู้
           โดยสาระสำคัญของการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา มีการจัดการเรียนรู้เพื่อเป็นพื้นฐาน ในการเรียนศาสตร์อื่น ที่มีความยากมากยิ่งขึ้นและ เพื่อสร้างกระบวนการคิดเชิงตัวเลข และเพื่อให้ผู้เรียนมีความสามารถในการคิด (เชิงตรรกะ จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ การคิดเชิงอนาคต) การให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ การพิสูจน์ความจริง

กระบวนการเรียนรู้
- นักเรียนแต่ละคนวิเคราะห์โจทย์ปัญหาหรือสถานการณ์ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น โดยโจทย์ปัญหาหรือสถานการณ์อาจมาจากสิ่งที่เกิดขึ้นจริง หรือสถานการณ์จำลองก็ได้
- นักเรียนแต่ละคนจะได้แสดงความคิดเห็น อธิบายการวิธีคิด ให้เพื่อนๆ และคุณครูฟัง (Black Broad Share)
- คุณครูและนักเรียน เรียนรู้ร่วมกันเกี่ยวกับกระบวนการคิดที่เกิดขึ้น พร้อมแสดงความคิดเห็น และวิเคราะห์เพื่อจัดระบบข้อมูลที่เกิดขึ้นในกระบวนการนี้ เป็นกระบวนการที่สำคัญ เพราะนักเรียนแต่ละคนจะมีวิธีคิดที่แตกต่างกัน แต่ได้คำตอบเดียวกัน ซึ่งคุณครูจะให้นักเรียนได้วิเคราะห์โจทย์ที่มีระดับความซับซ้อนเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ โดยโจทย์ที่ให้นั้นจะต้องมีความหลากหลายของกระบวนการหาคำตอบ และท้าทายต่อกระบวนการคิดของนักเรียนเป็นสำคัญ
- การจับสื่อจริงเป็นขั้นตอนกระบวนการหนึ่งที่จัดอยู่ในกระบวนการเรียนรู้ที่สำคัญเนื่องจากจะช่วยให้นักเรียนเกิดภาพในสมองที่เป็นรูปธรรมแล้ว ยังช่วยให้ได้พัฒนาทักษะด้านต่างๆ อาทิเช่น ทักษะการคิดและทักษะนำเสนอ
- นักเรียนแต่ละคนได้ออกแบบโจทย์ใหม่ ซึ่งเป็นกระบวนการหนึ่งที่ครูผู้สอนสามารถสังเกตได้ว่า นักเรียนแต่ละคนมีความเข้าใจต่อกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นอย่างไร เนื่องจากการออกแบบโจทย์ใหม่ จะต้องใช้ทักษะความเข้าใจที่เกิดขึ้นในกระบวนเรียนรู้ที่ผ่านมา มาปรับประยุกต์ใช้
- นำไปใช้จริงในชีวิตประจำวันและเชื่อมโยงกับศาสตร์อื่นๆ เช่น การใช้ในการวิเคราะห์ หรือคำนวณต่างๆในวิชาอื่นๆ

ผลที่ได้รับ : นักเรียนร้อยละ 80 เกิดทักษะที่สำคัญ ได้แก่ ทักษะการแก้ปัญหา (Problem Solving), ทักษะการมองเห็นภาพหรือรูปแบบที่ซ่อนอยู่ (Patterning), ทักษะการคิดสร้างสรรค์และการให้เหตุผล (Creative Thinking and Reasoning) และทักษะการสื่อสาร (Communication) เพื่อให้เกิดความร่วมมือและพบวิธีหรือคำตอบเอง (Meta cognition)
          การสอนจึงให้ความสำคัญที่เข้าใจความคิดรวบยอดก่อน และค้นหาวิธีที่หลากหลายร่วมกัน วิธีการที่ได้จึงเป็นคำตอบที่สำคัญกว่าคำตอบจริงๆ โดยใช้ขั้นของการสอนดังนี้
                     1. ชง หมายถึง ขั้นที่ครูตั้งคำถาม ตั้งโจทย์ หรือโยนปัญหาให้ผู้เรียนได้เผชิญ ผู้เรียนจะได้คิดและการลงมือปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหานั้นด้วยตนเอง

                     2. เชื่อม หมายถึง การนำเสนอเพื่อแลกเปลี่ยนวิธีแก้โจทย์ปัญหาของแต่ละคน ครูไม่จำเป็นต้องตัดสินว่าวิธีใดถูกหรือผิด เพราะสุดท้ายเมื่อมีการแลกเปลี่ยนกันมากขึ้นนักเรียนแต่ละคนจะเห็นมุมมองที่หลากหลาย เห็นช่องโหว่ของบางวิธี ได้ตรวจสอบวิธีแต่ละวิธีและในที่สุดจะรู้คำตอบเอง สามารถเลือกวิธีการแก้ปัญหาที่ตัวเองเข้าใจไปใช้ได้ นี่เป็นทักษะของการรู้ตัว     รู้ว่าตัวเองรู้หรือไม่รู้(Meta cognition) เป็นทักษะที่จะนำไปสู่การพัฒนาตนเองต่อไป ในขั้นนี้ครูแค่ตั้งคำถาม “ใครได้คำตอบแล้ว?” “มีวิธีคิดอย่างไร?”“ใครมีวิธีอื่นบ้าง?” “คุยกับเพื่อนว่าเห็นอะไรที่คล้ายกันหรือแตกต่างกันบ้าง” ครูที่เก่งจะไม่ผลีผลามบอกคำตอบแต่จะเอื้ออำนวยให้ผู้เรียนพบคำตอบ คำตอบที่เราต้องการจริงคือวิธีการ ในขั้นตอนนี้ ผู้เรียนจะได้พัฒนาทักษะทั้งหมด ทั้งทักษะการแก้ปัญหา (Problem Solving), ทักษะการมองเห็นภาพหรือรูปแบบที่ซ่อนอยู่
 (Look for the Pattern), ทักษะการคิดสร้างสรรค์และการให้เหตุผล (Creative Thinking and Reasoning) และ ทักษะการสื่อสาร(Communication) เพื่อให้เกิดความร่วมมือและพบวิธีหรือคำตอบเอง (Meta cognition) 
3. ใช้ หมายถึง ขั้นของการให้โจทย์ใหม่ที่คล้ายกัน หรือยากขึ้น หลังจากที่ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาจากขั้นตอนที่ 2 แล้ว เพื่อให้นักเรียนแต่ละคนได้ประลองเอง จะได้สร้างความเข้าใจให้คมชัดขึ้น ครูจะได้ตรวจสอบอีกรอบว่าเด็กแต่ละคนเข้าใจมากน้อยเพียงใด ตลอดกระบวนการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ ก่อให้เกิดทักษะด้านต่างๆไดั    

ทักษะการเรียนรู้ร่วมกัน ทักษะการสื่อสาร ทักษะการวิเคราะห์
          จะเกิดขึ้นเสมอ เมื่อนักเรียนแต่ละคนได้ร่วมถ่ายทอดสิ่งที่ได้เรียนรู้ให้เพื่อนๆหรือผู้อื่นได้ร่วมเรียนรู้โดยรูปแบบการถ่ายทอดมีหลากหลายวิธี เช่น การอธิบายโจทย์ปัญหา การอธิบายกระบวนการวิเคราะห์โจทย์ปัญหา การนำเสนอวิธีคิดของตนเอง (black board share) ที่เข้าใจให้เพื่อนๆได้ร่วมแสดงความคิดเห็น        




        นอกจากนี้การทำงานร่วมกันของนักเรียนทุกคน ตลอดการเรียนรู้ในแขนงวิชาต่างๆ ก่อให้เกิดทักษะการทำงานร่วมกัน ซึ่งเป็นสัมพันธภาพอันดีงามที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ เป็นบรรยากาศการเรียนรู้ที่ดี

                    นอกจากกิจกรรม การเรียนรู้ของนักเรียนที่เกิดขึ้นในห้องเรียนแล้ว กลุ่มคุณครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์จะมีการจัดกิจกรรม Reason study การสอน ซึ่งเป็นนวัตกรรมการพัฒนาการเรียนการสอน สำหรับเตรียมให้กับคุณครูผู้สอน ได้พัฒนาตนเอง เพื่อกระบวนการสอนที่มีคุณภาพ และวิธีสอนที่หลากหลาย สร้างความน่าสนใจและสร้างความเข้าใจโดยแท้จริงให้กับนักเรียนทุกคน


.................ทีมครูมัธยม นอกกะลา.................




















กิจกรรมการเรียนรู้วิชาบูรณาการ (PBL: Problem-based learning)

        เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีการบูรณาการ แขนงวิชาต่างๆจำนวน 5 วิชา เข้าด้วยกัน ประกอบด้วย วิชาวิทยาศาสตร์ วิชาสุขศึกษาและพลศึกษาวิชาประวัติศาสตร์และสังคม วิชาการงานและเทคโนโลยี รวมถึงวิชาศิลปะ การผสมผสานของแต่ละวิชา จะทำให้เกิดความเชื่อมโยง ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย สอดคล้องกับการใช้จริง และเป็นการเสริมสร้างทักษะที่จำเป็นต่อการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เช่น การแก้ปัญหา การสื่อสาร การทำงานเป็นทีม

เป้าหมายการเรียนรู้
     นักเรียนสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆได้อย่างเป็นระบบ สามารถวิเคราะห์ และสังเคราะห์ข้อมูลต่างๆได้อย่างมีวิจารณญาณ มีทักษะการเรียนรู้ต่างๆอย่างรอบด้าน อาทิเช่น ทักษะการเรียนรู้ร่วมกัน ทักษะการสืบค้นข้อมูล ทักษะการสื่อสาร ทักษะ ICT ฯลฯ

กระบวนการเรียนรู้
- คุณครูและนักเรียนจะมีการออกแบบกิจกรรการเรียนรู้รวมกัน เริ่มด้วยการสร้างแรงบันดาลใจ เพื่อทำให้นักเรียนมี ฉันทะ ที่ต้องการอยากจะเรียนเรื่องต่างๆ อาทิเช่น การดูสารคดีวัฒนธรรม การทดลองวิทยาศาสตร์การดูหนังวิทยาศาสตร์ ฯลฯ
- หลังจากกระบวนการสร้างแรงบันดาลใจ นักเรียนแต่ละคนจะมีการเขียนอธิบายสิ่งที่รู้แล้ว และสิ่งที่ต้องการเรียนรู้
- ออกแบบปฏิทินการเรียนรู้ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการเรียนรู้กิจกรรมอย่างเป็นขั้นตอน
- หลังจากนั้นกิจกรรมการเรียนรู้ก็จะเริ่มขึ้นโดยเน้น การปฏิบัติจริง มีการสืบค้นข้อมูล และเรียนรู้จากปัญหาโดยแท้จริง ซึ่งปัญหาที่นักเรียนแต่ละคนจะได้ร่วมวิเคราะห์เพื่อหาวิธีการแก้ปัญหา มีทั้งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจริง หรืออาจเป็น ปัญหาที่จำลองขึ้นก็ได้ โดยสิ่งสำคัญไม่ได้อยู่ที่ผลสรุปของเรื่องที่เรียนหรือผลการทดลองที่ถูกต้อง แต่เป็น กระบวนการที่เกิดขึ้นตลอกการเรียนรู้ต่างหากที่สำคัญที่สุด
- หลังจากกระบวนการเรียนรู้ทุกๆกิจกรรมผ่านไป นักเรียนแต่ละคนจะมีการ สรุปองค์ความรู้รายสัปดาห์ ซึ่งเป็นการอธิบายสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอด แต่ละสัปดาห์ที่ผ่านมา

                           ตัวอย่างกิจกรรมการเรียนรู้ที่สร้างให้นักเรียนเกิดทักษะด้านต่างๆ




ตัวอย่างการจัดกระบวนการเรียนรู้ 

การเรียนรู้ (PBL: Problem-based learning) ของนักเรียนระดับชั้น ม.3


Topic : “Travel around the word”
        ซึ่งเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวในประเทศต่างๆ โดยนักเรียน 1 คน ก็จะได้ศึกษา 1 ประเทศ ซึ่งกระบวนการเรียนรู้ก็เริ่มต้นด้วยการสืบค้นข้อมูลพื้นฐานของประเทศที่จนเองกำลังศึกษาอยู่เป็นลำดับแรก จากนั้น ในแต่ละสัปดาห์ จะเป็นกิจกรรมการเรียนรู้ ที่เกิดขึ้นจาก สิ่งที่นักเรียนแต่ละคนจะต้องรู้ ก่อนที่จะไปเที่ยวที่ประเทศนั้นๆ ด้วยคำถามหลัก (Key Question) ของแต่ละสัปดาห์ที่เปลี่ยนแปลงไป ตามปฏิทินการเรียนรู้ที่ได้ร่วมกันออกแบบไว้ในช่วงแรก อาทิเช่น ลักษณะทางกายภาพของประเทศนั้นเป็นอย่างไร สถานที่สำคัญและสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจของประเทศนั้น การติดต่อสถานที่สำคัญ การติดต่อเอกสาร ซึ่งจากคำถามที่เกิดขึ้น ช่วยให้นักเรียนแต่ละคน มีความสนใจที่จะเรียนรู้และหาข้อมูลเพื่อนำมาเล่าให้เพื่อนและคุณครูได้ร่วมเรียนรู้ด้วย



       นอกเหนือจากกิจกรรมการเรียนรู้ แล้วยังมี ทักษะที่เกิดขึ้นมากมายในกระบวนการทำงาน อาทิเช่น ทักษะการนำเสนอ ความ คิดเห็นทักษะ การวิเคราะห์ข้อมูล ทักษะการทำงานร่วมกัน การสร้างการนำเสนอที่มีการนำทักษะด้านศิลปะมาร่วมประยุกต์ใช้ ร่วมถึงทักษะ ICT ที่มีความสำคัญมา ในการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21



       ชิ้นงาน เป็นส่วนหนึ่งที่แสดงถึงความเข้าใจ ต่อเรื่องที่ได้ศึกษา ซึ่งนักเรียนแต่ละคน มีรูปแบบที่หลากหลายในการนำเสนอ อาทิเช่น การวาดภาพ การเขียน Mind Mapping การเขียน Story Broad
การตัดต่อ ฯลฯ

ตัวอย่างชิ้นงาน









ผลที่ได้รับ 
  ความรู้: นักเรียนทุกคนสามารถเข้าใจและเห็นความแตกต่างของวัฒนธรรม ความเชื่อ สถานที่ และการดำรงชีวิตของมนุษย์ได้ร่วมทั้งอธิบายสิ่งที่ได้เรียนรู้ในรูปแบบที่น่าสนใจ ในการใช้ทักษะด้านต่างๆที่เกิดขึ้นตลอดกระบวนการเรียนรู้มาถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้ร่วมเรียนรู้และเข้าใจประเด็นที่น่าสนใจ

ทักษะ:
- ทักษะการแก้ปัญหา
นักเรียนทุกคนสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการเรียนรู้รวมถึงในขั้นตอนการลงมือปฏิบัติงานจริง ในเหตุการณ์ต่างๆได้
-ทักษะการคิดวิเคราะห์
นักเรียนทุกคนสามารถเลือกใช้เครื่องมือเพื่อคิดวิเคราะห์และสืบค้นข้อมูลต่างๆที่ต้องการศึกษาได้ถูกตองและเหมาะสม
-ทักษะการเรียนรู้
นักเรียนทุกคนสามารถเรียนรู้และเชื่อมโยงเรื่องที่ได้ศึกษากับชีวิตประจำวันของตนเองได้
- ทักษะการวางแผน
นักเรียนทุกคนสามารถ การวางแผนในการทำงานทั้งในรูปแบบ ทำงานเดียวและทำงานกลุ่มได้
- ทักษะการเลือกใช้เครื่องมือ
นักเรียนทุกคนสามารถเลือกใช้เครื่องมือการคิดที่หลากหลายในกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน
- ทักษะการสื่อสาร
นักเรียนทุกคนสามารถถ่ายทอดสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้ให้กับผู้อื่นได้อย่างมีคุณค่า
คุณลักษณะ :
- นักเรียนทุกคนมีความคิดสร้างสรรค์และสามารถแสดงทัศนคติต่อกระบวนการเรียนรู้ในกิจกรรมต่างๆได้
- นักเรียนทุกคนสามารถอธิบายความหลากหลายของข้อมูลที่ได้จากการสืบค้นข้อมูล และวิเคราะห์จากกิจกรรมการเรียนรู้ได้
- นักเรียนทุกคนเกิดความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมายในภาระงานต่างๆพร้อมทั้งมีความมุ่งมั่นในการทำงานรวมถึงเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น


.............ทีมครูมัธยม นอกกะลา..........