วันจันทร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2557

กิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาภาษาอังกฤษ

เป้าหมาย : เพื่อให้นักเรียนทักษะการสื่อสาร เข้าใจถึงความแตกต่างวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา สามารถฟังคำศัพท์ ประโยค เรื่องราว บทสนทนาจากนิทาน เพลง ละคร ภาพยนตร์ จับใจความสำคัญ ตอบคำถามโดยให้เหตุผลรวมทั้งสามารถถ่ายทอดสื่อความหมายให้ผู้อื่นเข้าใจ ผ่านการเขียน การวาดภาพ การแต่งนิทาน การนำเสนอในรูปแบบต่างๆ เช่น หนังสั้น โฆษณา ละครเพลง ฯลฯ อีกทั้งสามารถใช้ภาษาเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้สู่สังคมโลกได้อย่างสร้างสรรค์

กระบวนการเรียนรู้
การจัดการเรียนรู้โดยใช้วรรณกรรม  เพื่อให้นักเรียนเรียนรู้การใช้ภาษาจริงจากการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลแวดล้อมและ การเรียนรู้ผ่านวรรณกรรม เป็นการจำลองชีวิตจริง มีความงดงามทั้งวิถีชีวิตและการใช้ทักษะทางภาษา อีกทั้งจรรโลงใจให้ใคร่ครวญ
รูปแบบกิจกรรม อย่างเช่น
   -ทบทวนความรู้เกี่ยวกับ Present Simple Tense และทบทวนเนื้อหาในบทที่ 1-2
ในวรรณกรรม A Christmas Carol เช่น Can you tell me the characters in this story?
 What is Scrooge like?
What is his friend’s name?
 - นักเรียนอ่านวรรณกรรม A Christmas Carol Chapter : 3 The First Spirit  และตอบคำถามเกี่ยวกับเนื้อหา จากนั้นให้นักเรียนคัดลองคำกริยา (Past Simple Tense) ลงสมุด พร้อมสังเกตโครงสร้างประโยค
   - นักเรียนทุกคน สร้างชิ้นงานเพื่อสรุปความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องที่ศึกษาในรูปแบบต่างๆ
Mind Mapping การ์ตูนช่อง การแสดงละคร ร้องเพลง แต่งนิทานฯลฯ




ผลที่ได้รับ
      การเรียนภาษาอังกฤษ เหตุที่เลือกวรรณกรรมภาษาอังกฤษในการเรียนรู้ เพราะว่า การที่จะเรียนรู้ภาษา วัฒนธรรม วิถีการดำเนินชีวิตและประเพณีเทศกาลวันสำคัญของเจ้าของภาษานั้น จะต้องเรียนรู้จากบริบทหรือสภาพแวดล้อมของภาษาจริงๆ วรรณกรรมก็เป็นส่วนหนึ่งของบริบทภาษาที่นักเรียนสามารถเรียนรู้และเข้าถึงได้ง่าย เนื่องด้วยวรรณกรรมมีเนื้อหาสาระสนุกสนาน สนใจและน่าติดตามพร้อมทั้งผู้อ่านหรือนักเรียนสามารถเลือกเรื่องที่ต้องการศึกษาหรือเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ทั้งนี้ผู้สอนได้เลือกวรรณกรรมภาษาอังกฤษเรื่อง A Christmas Carol ผู้แต่งคือ CHARLES DICKENS นักเรียนสนุกสนาน ให้ความสนใจ กระตือรือร้นในการเรียนวรรณกรรม นักเรียนได้เรียนรู้วัฒนธรรมทางภาษา การรับประทาน วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของเจ้าของภาษาและนำมาเชื่อมโยงกับสังคมของเจ้าของภาษาในปัจจุบัน นักเรียนสามารถอธิบายได้ถึงความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรม (Cross-Culture Communication)ของประเทศไทย ชนชาติวันตกและอื่นๆ ในด้านภาษาและอวัจนภาษา (Verbal and Non-Verbal Languages) และการดำรงชีวิต ทัศนคติ ค่านิยม เช่น เพราะสาเหตุใด ทำไมชาวตะวันตกถึงรับประทานอาหารที่มีจำพวกแป้ง ไขมัน การดำเนินชีวิตในสังคมตะวันตกเป็นแบบใด เพราะเหตุใด และมีความแตกต่างจากสังคมในเมืองไทยอย่างไร เป็นต้น รวมถึงการศึกษาค้นคว้า เรียนรู้เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของเทศกาลวันสำคัญของชาวตะวันตก เช่น วันคริสต์มาส วันขอบคุณพระเจ้า วันวาเลนไทน์ ซึ่งเทศกาลดังกล่าวนักเรียนทุกคนต่างรู้จักมักคุ้นเป็นอย่างดี ซึ่งนักเรียนเรียนรู้ผ่านกระบวนการ Key Questions , Brainstorms , Flipped Classroom เป็นต้น
        นอกจากนั้นการเรียนรู้ภาษาอังกฤษจากวรรณกรรม นอกจากจะได้ความรู้เกี่ยวกับเจ้าของภาษาแล้ว ยังสามารถเรียนรู้ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษจากวรรณกรรมด้วย เช่น เรื่อง Coordinating Conjunctions , Past Simple (Regular/Irregular Verbs) , Adjectives, Adverbs เป็นต้น ให้นักเรียนสังเกตประโยคตัวอย่างที่นำมาจากวรรณกรรมและสรุปหลักเกณฑ์การใช้ ด้วยภาษาของตนเอง (Induction Method) นักเรียนส่วนใหญ่ชอบการเรียนรู้แบบท้าทาย ชอบวิเคราะห์ เช่น นักเรียนชอบการเรียงลำดับคำในประโยค (Order) และฝึกให้ผู้เรียนเข้าใจและสามารถวิเคราะห์ อธิบาย หน้าที่ของคำได้ (Parts of Speech) นอกจากเนื้อหาด้านไวยากรณ์แล้ว ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการอ่าน เช่น การอ่านออกเสียงพยัญชนะต้นและพยัญชนะท้ายคำ ออกเสียงเชื่อมโยงในประโยค (Linking Sounds) และนำความรู้ประยุกต์ใช้ในการร้องเพลงสากล นักเรียนส่วนใหญ่ตระหนักและให้ความสำคัญในการอ่านออกเสียงและการฟังอย่างตั้งใจ จากกระบวนการเรียนการสอนนักเรียนซึ่งแน่นอนว่านักเรียนแต่ละคนมีความแตกต่าง


.............ทีมครูมัธยม นอกกะลา.........




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น